วิธีติดตั้งหลังคาไวนิล
การติดตั้งแผ่นหลังคาไวนิลกันสาดไวนิล
1. สามารถยึดแผ่นหลังคาไวนิลเข้ากับโครงสร้างได้ทุกวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นโครงเหล็ก โครงอลูมิเนียม โครงสเตนเลส โครงไม้จริง และโครงไม้เทียม
2. ควรยึดด้วยสกรูทุกแผ่นและทุกระยะ และไม่ควรให้ระยะห่างเกิน 60 เซนติเมตร เพราะจะเกิดการแอ่นตัว ตกท้องช้างได้ โดยให้ระยะจันทันไม่เกิน 1 เมตร
3. แผ่นหลังคาไวนิล สามารถใช้เลื่อยวงเดือน เลื่อยตั้งโต๊ะ หรือเลื่อยไฟฟ้าจิ๊กซอว์ในการตัดได้
4. การตอกหลังคาไวนิล ควรใช้ค้อนยางในการตอก และควรตอกทีละแผ่น เพื่อไม่ให้วัสดุเกิดชำรุดเสียหาย
5. แผ่นหลังคาไวนิล สามารถดัดให้โค้งงอได้ แต่ค่ารัศมีการดัดโค้งงอนั้นไม่ควรต่ำกว่า 1 เมตร
6. ในการติดตั้งควรให้มีความลาดชันไม่น้อยกว่า 15 องศา เพื่อให้การไหลถ่ายเทน้ำเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
7. หากยังไม่ทำการติดตั้งแผ่นหลังคาไวนิล ไม่ควรวางตากแดดทิ้งไว้ หรือในที่ร้อนจัดเพราะจะทำให้เกิดการโค้งงอ บิดตัวได้
ขั้นตอนติดตั้งแผ่นหลังคาไวนิล
แผ่นหลังคาไวนิลมีด้วยกันหลายแบบ หลายขนาด การจัดเตรียมพื้นที่โครงสร้างสำหรับมุงหลังคาไวนิลอาจแตกต่างกันบ้าง แต่ควรมีระยะแปในการติดตั้งหลังคาที่ 30–40 เซ็นติเมตร
1. ยึดตัวเริ่มเข้ากับโครงสร้างหลังคา โดยใช้สกรูปลายสว่าน ความยาว 1 นิ้ว (เบอร์ 7 หรือเบอร์ 8) โดยส่วนปลายของหลังคาที่ยื่นออกมา ไม่ควรเกิน 5 เซ็นติเมตร
2. นำแผ่นหลังคาไวนิล ตีเข้าไปในร่องลิ้นของตัวเริ่ม ที่ยึดไว้กับโครงสร้างหลังคา โดยใช้ไม้หน้าสามเป็นตัวรอง แล้วใช้ค้อนยางค่อย ๆ เคาะ ตอกเบา ๆ จนแผ่นหลังคาไวนิลเข้าลิ้นไปแนบสนิท
3. เมื่อแผ่นหลังคาเข้าลิ้นจนสนิทแล้ว ให้ยิงยึดแผ่นหลังคาไวนิลที่ตีเข้าไปในร่องของตัวเริ่มด้วยสกรูปลายสว่าน ทำไปเรื่อย ๆ ทีละแผ่น
4. เมื่อยิงยึดแผ่นหลังคาไวนิลถึงแผ่นสุดท้ายด้วยสกรูปลายสว่านแล้ว ให้นำตัวจบงาน มาเสียบเข้าลิ้นกับแผ่นหลังคาไวนิล
ข้อดี-ข้อเสียหลังคาไวนิล กับหลังคาทึบแสงชนิดอื่น ๆ
การติดตั้งหลังคาไวนิลนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมหลังคาบ้าน หลังคาโรงรถไวนิล เราจะมาดูความแตกต่างของวัสดุและคุณสมบัติของแผ่นหลังคาแต่ละชนิด
1. หลังคากระเบื้อง เป็นวัสดุที่หลายคนรู้จักกันดี ทำมาจากคอนกรีตหรือซิเมนต์ผสม
ข้อดี มีความสวยงาม การต่อเติมใหม่จะทำให้เข้ากันได้ดีกลมกลืนกับหลังคาบ้าน
ข้อเสีย มีน้ำหนักค่อนมาก การทำโครงสร้างต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อรองรับน้ำหนักหลังคากระเบื้อง
2. หลังคาพีวีซี เอพีวีซี ตัวแผ่นจะมีความหนา 3 ชั้น ชั้นกลางจะบุเป็นฉนวนสำหรับกันความร้อน
ข้อดี ราคาไม่สูงมาก มีน้ำหนักเบา มีหลายสีให้เลือก ดูดซับความร้อนได้มาก การติดตั้งง่าย
ข้อเสีย แผ่นพีวีซีไม่ทนต่อความร้อนมาก หากโดนความร้อนนาน ๆ แผ่นอาจเกิดการขยายตัวและอาจเกิดสีซีดจาง เสียงค่อนข้างดังเวลาฝนตก
3. หลังคาเมทัลซีท ทำมาจากเหล็กรีด ขึ้นรูปเป็นลอน
ข้อดี ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา มีหลายสีให้เลือกใช้งาน และสามารถสั่งตัดตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการใช้งานได้เลย
ข้อเสีย เกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามาก การติดตั้งเมทัลชีทจึงต้องบุฉนวนกันความร้อนด้วย มีเสียงดังมากเวลาฝนตก
4. หลังคาไวนิล เป็นแผ่นพีวีซีเช่นเดียวกัน แต่ผลิตในรูปแบบการฉีดโฟม ทำให้มีความหนามากขึ้น
ข้อดี สวยงาม ทันสมัย มีหลายสี หลายแบบให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการกันความร้อนได้ดีมาก ดูดซับเสียงได้ดี ทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 10 ปี
ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างสูงกว่าวัสดุหลังคาอีกหลายชนิดมีแต่ชนิดทึบแสง และการใช้งานไปนาน ๆ นั้น สีหลังคาจะหมองและเปลี่ยนแปลงได้
หลังคาไวนิล หรือกันสาดไวนิล เป็นทางเลือกใหม่ที่คุ้มค่า คุ้มราคาเป็นอย่างมาก หากเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ประโยชน์ และคุณภาพในการใช้งานแล้ว นับว่าหลังคาไวนิลตอบโจทย์การก่อสร้างได้ตรงเป้าหมายกว่าวัสดุชนิดอื่น ไม่ว่าจะต่อเติมหลังคาบ้านใหม่ หลังคาโรงรถไวนิล หลังคามุมพักผ่อนนั่งเล่นในสวน หรือกันสาดไวนิลกันแดดกันฝน ก็จะช่วยให้บ้านของคุณ ดูดีมีสไตล์ สวยงาม ทันสมัย แถมยังได้มาตรฐาน ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน